วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

ความเป็นมาและความสำคัญ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
        สบู่เป็นเครื่องสำอางชนิดหนึ่งที่ใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย เดิมใช้เพื่อทำความสะอาดร่างกายเท่านั้น ปัจจุบันกระบวนการผลิตสบู่มีการเพิ่มส่วนผสมอื่นๆ เพื่อให้สบู่มีสรรพคุณตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เช่นมีสีสันที่สวยงามน่าใช้ มีกลิ่นหอม และมีสรรพคุณทางยาในทางการค้ามีการใช้สารสงเคราะห์เพิ่มขึ้นทำให้ ผลิตภัณฑ์น่าใช้ แต่แฝงไปด้วยสารเคมีที่เป็นอันตรายมีสารพิษตกค้างและมีราคาที่แพง ปัจจุบันนิยมใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมในสบู่แทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ จึงทำให้สมุนไพรเข้ามามีบทบาทในเรื่องของส่วนผสม ทำให้ผลิตภัณฑ์สบู่ที่ผลิตจากสมุนไพรธรรมชาติมีคุณลักษณะเฉพาะที่หลากหลายเช่นมีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะใช้ในการบำบัดโรค มีสีสันสวยงาม หาง่าย ราคาถูก ประหยัด ปลอดภัย ไร้สารสังเคราะห์ และไม่มีสารพิษตกค้าง  จึงเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของสบู่สมุนไพรที่มีคุณค่าอย่างยิ่งของภูมิปัญญาไทย
        สบู่ธรรมชาติจะผลิตโดยใช้ไขมันจากพืชหรือสัตว์ผสมกับด่าง NaOH จะได้สบู่ธรรมชาติถือว่าเป็นสบู่ที่ดีเนื่องจากค่าความเป็นค่า pH (Power of hydrogen) คือที่อยู่ในระดับเดียวกับร่างกายของเราและเป็นสภาวะที่ดีที่สุด นั่นคือมีค่าเป็นกลางใกล้เคียงกับผิวพรรณของเรามากที่สุดทำให้ไม่ค่อยมีความระคายเคืองต่อผิว ส่วนสบู่เคมี ได้ถูกพัฒนาขึ้น อันเนื่องมาจากการผลิตสบู่แบบดั้งเดิม มีต้นทุนสูง ใช้เวลานานในการผลิต และผลิตได้ครั้งละจำกัด จึงทำให้มีผู้คิดค้นสบู่อีกสูตรหนึ่งขึ้นมาคือสบู่เคมี ซึ่งผลิตโดยใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติในการชะล้างมาอัดเป็นก้อนและผสมกลิ่นน้ำหอม และเติมสี และจัดจำหน่ายทั่วไปมีการเติมมอยเจอร์ไรเซอร์ เพื่อทดแทนกลีเซอรีน ที่เคยใช้ในการผลิตแบบดั้งเดิมสบู่ประเภทนี้ให้การชะล้างที่ดีมากๆและมีกลิ่น สี น่าใช้เพราะแต่งเติมไปด้วยกรรมวิธีใหม่ๆ แต่สิ่งที่ตามมาก็คือการระคายเคืองในบางคนและการสะสมสารเคมีที่ผิวหนังบนร่างกายทุกวันๆ และปัจจุบันคนส่วนมากมักจะเลือกสบู่ที่สามารถทำความสะอาดได้มากๆ ซึ่งสบู่เหล่านี้มักจะมีสารเคมีตกค้างอยู่มาก จะมีสักกี่คนที่ใส่ใจในรายละเอียดสบู่ สบู่ที่ดีจะต้องมีส่วนประกอบที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อผิว ซึ่งนอกจากจะทำให้สบู่ที่ใช้ทำความสะอาดผิวได้ดีแล้ว ยังสามารถบำรุงผิวได้อีกด้วยทั้งนี้ สบู่เป็นสิ่งที่เราต้องใช้เป็นประจำทุกวัน หากเราคัดสรรสบู่ที่ดีมีคุณภาพ จะทำให้เรามีสุขภาพผิวที่ดีอยู่คู่กับเราไปตลอดนานเท่านาน
        การที่คนสมัยก่อนมีผิวพรรณที่สวยงามนั้น ก็เกิดจากการนำสมุนไพรมาขัดตัวไม่ว่าจะเป็นขมิ้น มะขาม  ใยมะพร้าว และใยบวบ ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและหาได้ไม่ยาก นำมาปรุงใช้เองโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการที่ยุ่งยาก ตามแบบฉบับภูมิปัญญาพื้นบ้าน ในปัจจุบันสมุนไพรไทยได้รับความนิยมเป็นมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือคนไทยเอง ก็ได้เห็นถึงสรรพคุณ ประโยชน์ของสมุนไพรเหล่านี้
        กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสายบัวจึงได้มีการผลิตสินค้ามากมายที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ไม่ว่าจะเป็น ยาสระผม เกลือขัดผิว ครีมนวด สบู่เหลว และสบู่ใยบวบ เพื่อให้สะดวกแก่การใช้และทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป แต่ยังคงคุณค่าของสมุนไพรไทย เป็นการสืบสานภูมิปัญญาไทยของแผ่นดินบ้านเกิดให้คงอยู่สืบไป  ผลิตภัณฑ์สบู่ใยบวบมีความโดดเด่นในเรื่องของกลิ่นหอมของน้ำผึ้งและคุณสมบัติที่ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิว ช่วยขจัดเหงื่อไคลและกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตด้วยใยบวบธรรมชาติ
       บรรจุภัณฑ์นับเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกในการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค  และภาคธุรกิจเริ่มหันมาให้ความสนใจกับรูปแบบบรรจุภัณฑ์มากขึ้นโดยมองว่าการออกแบบ/รูปแบบบรรจุภัณฑ์มีผลต่อยอดขายอย่างมาก  เพราะเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคได้เห็นและมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ/ไม่ซื้อของผู้บริโภค   นอกจากนี้  กสอ. ยังได้เสนอข้อคิดเห็นว่าบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนยังมีความจำเป็นต้องปรับปรุงอีกมากเพื่อสร้างความน่าสนใจในตัวสินค้าและสามารถสร้างผลสำเร็จได้ในอนาคต  เนื่องจากบรรจุภัณฑ์มีบทบาทสำคัญหลายประการ  เช่น  การรองรับและลดความเสียหายแก่ผลิตภัณฑ์  การช่วยเพิ่มมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์ทำให้ยอดจำหน่ายสูงขึ้น    ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่ดีต้องมีรูปแบบที่ดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้  ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์  มีฉลากบอกรายละเอียดครบถ้วน  เช่น  ชื่อผลิตภัณฑ์  วัน/เดือน/ปีที่ผลิตและหมดอายุ  สถานที่ผลิต  เป็นต้น    
       ดังนั้น  ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์จึงไม่อาจละเลยได้  ภาครัฐได้จัดตั้งหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของภาครัฐและเอกชนในการปรับปรุงและรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตลอดจนให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์   อาทิ  ส่วนบรรจุภัณฑ์  สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน  กสอ.    ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย   สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย  ศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์  กรมส่งเสริมการส่งออก    เป็นต้น   ส่วนบรรจุภัณฑ์   กสอ.  ให้บริการคำแนะนำและปรึกษาด้านบรรจุภัณฑ์แก่ผู้ผลิต  และให้บริการออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์และรูปแบบของผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ สำหรับศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย   ซึ่งเป็นศูนย์การบรรจุหีบห่อแห่งชาติได้กำหนดแผนการสร้างคุณภาพบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ OTOP  ให้ได้รับการยอมรับในตลาดสากลตามแนวทางของรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ OTOP ก้าวสู่ตลาดโลกให้มากที่สุดโดยการพัฒนาในทุกๆ ด้านทั้งคุณภาพและบรรจุภัณฑ์   ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ผลิตในชุมชนตลอดจนการส่งออกของประเทศ  โดยศูนย์การบรรจุหีบห่อไทยตั้งเป้าหมาย 1 ปีแรกจะมีผลิตภัณฑ์ OTOP  จำนวน 40 ประเภทที่ได้รับการพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์ระดับสากลโดยเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและหัตถกรรมในช่วงแรก  รัฐบาลตั้งเป้าหมายว่าหากมีการพัฒนาสินค้าจากโครงการ OTOP อย่างสมบูรณ์ในด้านคุณภาพ  รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม  ทันสมัย  คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าขายได้กว่า 1 แสนล้านบาท/ปี ในอนาคตได้อย่างแน่นอน    นอกจากนี้ กสอ. ยังได้ริเริ่มโครงการบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน  ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยให้ผู้ผลิตสินค้า OTOP มีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามและต้นทุนต่ำอีกด้วย (ที่มา: http://souvenirbuu.wordpress.com/ สามารถเข้าถึงได้เมื่อ 14 09 56)
        บรรจุภัณฑ์ มีหน้าที่เก็บรักษาผลิตภัณฑ์และสภาพการขนส่งเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เสร็จสิ้นการผลิตจนไปสิ้นสุดลงที่ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภค รวมถึงยังทำหน้าที่แสดงตัวในลักษณะการนำเสนอตัวเองเพื่อให้ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้รู้ว่าผลิตภัณฑ์ด้านในคืออะไร ผลิตจากไหน มีปริมาณเท่าใด มีลักษณะรูปร่างอย่างไรระบุข้อความตามกฎหมายหรือข้อกำหนด ที่สำคัญหน้าที่จูงใจลูกค้าหรือผู้ใช้ให้เกิดความสนใจในผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ข้างใน ซึ่งเป็นการโฆษณาตัวเองไปด้วยในตัว
        จากการที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาถึงที่มาและขั้นตอนในการผลิตสบู่ใยบวบในครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การศึกษาเรื่องนี้ทำให้ทราบถึงจุดเด่นของผลิตภัณฑ์สบู่ใยบวบ ว่ามีข้อดียังไงบ้าง ทำให้ได้ทราบความต้องการของผู้ประกอบการณ์และความต้องการของผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ใยบวบเป็นสินคาที่นาสนใจและมีคุณภาพ
โดยจะเห็นได้ว่าปัญหาบรรจุภัณฑ์ของสบู่ใยบวบ ตราสายบัว ในปัจจุบัน ได้จากการสำรวจลงพื้นที่ในวันที่ 24 06 56 ดังนี้
        1.บรรจุภัณฑ์พลาสติกใสที่หุ้มผลิตภัณฑ์ไม่สามารถป้องกันผลิตภัณฑ์ จากการขนส่งได้
        2.กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ไม่มีความน่าสนใจในการดึงดูดผู้บริโภค


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น